Go to Top
การจัดการน้ำเสีย

การจัดการน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงไฟฟ้า จะรองรับน้ำเสีย รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,700 ลบ.ม./วัน โดยแบ่งออกเป็นน้ำเสียจากระบบผลิตไฟฟ้า 1,500 ลบ.ม./วัน และน้ำเสียจากพนักงานและกิจกรรมทั่วไป 200 ลบ.ม./วัน

6.1.1  น้ำเสียจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า รวม 1,500 ลบ.ม./วัน มีแหล่งกำเนิดมาจาก

– ถังตกตะกอนของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ 95 ลบ.ม./วัน

– ระบบ Water Treatment 110 ลบ.ม./วัน

– น้ำล้างพื้น 200 ลบ.ม./วัน

– Plant Cycle Blow down 785 ลบ.ม./วัน

– Service Water 300 ลบ.ม./วัน

– Chemical Laboratory Drain 10 ลบ.ม./วัน

น้ำเสียในบางส่วนที่มีค่า pH ไม่เท่ากับ 7 จะถูกส่งไปบำบัดโดยการปรับค่า pH โดยระบบ Neutralization ส่วนน้ำเสียที่มาจากเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ มักจะปนเปื้อนด้วยน้ำมัน การบำบัดเพื่อกำจัดน้ำมันและไขมันจะทำโดยหน่วยบำบัดน้ำเสียทีมีหน้าที่แยกน้ำมันโดยเฉพาะ (Oil Separator) กากน้ำมันที่แยกจากหน่วยนี้แล้ว จะจัดจ้างบริษัทภายนอกนำออกไปกำจัดต่อไป

นอกจากน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงไฟฟ้าแล้ว ยังมีน้ำเสียบางส่วนที่มาจากการกำจัด SO2 ใน Flue Gas โดยทางโรงไฟฟ้าจะใช้ระบบ Sea Water FGD น้ำเสียในส่วนนี้จะผ่านเข้าสู่บ่อเติมอากาศ (Aeration Pond) ก่อนที่จะระบายออกสู่ทะเล

6.1.2 น้ำเสียจากพนักงานและกิจกรรมทั่วไป (Sewage) จะมีประมาณ 200 ลบ.ม./วัน ซึ่งจะทำการบำบัดโดย Biological Wastewater Treatment Process ให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

น้ำฝนที่ชะพื้นที่ภายในโรงไฟฟ้า

น้ำเสียส่วนนี้จะถูกรวบรวมแยกจากน้ำเสียจากกิจกรรมอื่นในโครงการ แล้วทิ้งโดยตรงลงสู่ทะเล

น้ำเสียจากโรงไฟฟ้าทั้งหมดที่ได้รับการบำบัดแล้ว จะระบายลงสู่ทะเล ณ จุดปล่อยน้ำทิ้งของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (Sea Water Outfall) ซึ่งระบบน้ำทิ้งของโครงการมีอัตราการไหลประมาณ 62.3 ลบ. ม./วินาที และความเร็วการไหล 1.5 เมตร/วินาที โดยคุณภาพน้ำทิ้งจะเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรม

โรงไฟฟ้าได้ริเริ่มโครงการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต และการอุปโภค เช่น การรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากร