Go to Top

โครงการรักษ์หญ้าทะเลกับบีแอลซีพี

โครงการ “รักษ์หญ้าทะเลกับบีแอลซีพี” ศึกษาวิจัยปลูกหญ้าทะเล เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร บริเวณเกาะสะเก็ด

ความเป็นมาของโครงการ

ทรัพยากรหญ้าทะเลเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หากิน วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมทั้งเป็นอาหารของเต่าตนุและพะยูน ตลอดจนช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งเนื่องจากหญ้าทะเลมีรากคอยยึดพื้นดินไว้ นอกจากนี้ ทรัพยากรหญ้าทะเลยังมีความสำคัญในเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยว ในช่วงที่ผ่านมาบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการพัฒนาด้านระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและในทะเลไม่สอดคล้องกับการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม จึงก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อความอุดมสมบูรณ์ของถิ่นที่อยู่ แหล่งหากิน รวมถึงแหล่งหลบภัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยเฉพาะบริเวณชายหาด ป่าชายเลน และแนวปะการัง   หญ้าทะเลเป็นทรัพยากรหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเป็นอันมาก จึงมีความจำเป็นต้องฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล ปัจจุบัน ทุกภาคส่วนเล็งเห็นว่าแนวโน้มการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหญ้าทะเลมีเพิ่มมากขึ้น ในปี 2563 ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกได้ร่วมกับ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด ได้ทำการทดลองฟื้นฟูทรัพยากรหญ้าทะเลโดยวิธีการย้ายปลูก เพื่อทดลองหาแนวทางที่เหมาะสมในการย้ายปลูกหญ้าทะเล บริเวณเกาะเสก็ด ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง และศึกษาหาอัตราการรอดจากการทดลองย้ายปลูกหญ้าทะเล ดังนี้ การย้ายปลูกครั้งที่ 1 ไม่มีการกั้นคอก พบว่า ถูกสัตว์น้ำกัดกินต้นหญ้าเกือบหมด จึงได้มี การย้ายปลูกครั้งที่ 2 โดยมีการกั้นคอก พบว่าหญ้าทะเลเติบโตได้ดี อัตราการรอดสูงทั้งหญ้ากุ่ยช่ายเข็มและหญ้าคาทะเล โดยพบอัตราการรอดประมาณร้อยละ 65 ในปี 2564 ได้มีแผนขยายความร่วมมือในโครงการศึกษาวิจัยปลูกหญ้าทะเล เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรบริเวณเกาะสะเก็ดอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลบริเวณเกาะสะเก็ด สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 พร้อมทั้ง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก สำนักงานเทศบาลเมืองมาบตาพุด และ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด จึงร่วมมือกันศึกษาวิจัยโครงการปลูกหญ้าทะเลเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรบริเวณเกาะสะเก็ด และได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564

บทความที่เกี่ยวข้อง

รวบรวมข่าวสารหรือบทความที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

บทบาทหน้าที่สำคัญของระบบนิเวศหญ้าทะเล

- บ้านของสัตว์น้ำ habitat or Supporting Services

+ ที่อยู่อาศัย หลบภัย 
+ แหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์
+ แหล่งวางไข่และอนุบาลตัวอ่อน
+ หมุนเวียนสารอาหาร 

- ปรับสมดุล Regulating Services

+ ช่วยในการกรองและปรับปรุงคุณภาพน้ำ กักเก็บตะกอนและของเสียที่พัดพามาจากแผ่นดิน
+ ป้องกันการถูกกัดเซาะ พังทลายของหน้าดินและพื้นที่ชายฝั่ง เพราะหญ้าทะเลมีระบบรากที่คอยยึดจับเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี
+ รักษาสมดุลคาร์บอน (BLUE CARBON)
เป้าหมายของโครงการ

เป้าหมายของโครงการ

โรงไฟฟ้า BLCP เล็งเห็นความสำคัญ จึงร่วมมือสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1,ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ,เทศบาลเมืองมาบตาพุด และ กลุ่มประมงในพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้หญ้าทะเลแห่งแรกในมาบตาพุด

แผนที่เกาะสะเก็ด-1 แผนที่เกาะสะเก็ด-2

แผนที่เกาะสะเก็ด

แผนที่เกาะสะเก็ด เกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับโรงไฟฟ้า BLCP และแสดงจุดพิกัดประกาศแนวเขตคุ้มครองพื้นที่แนวประการัง ตามคำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 673/2564

เกาะสะเก็ด

อดีตเกาะสะเก็ดเดิมมีชื่อว่าเกาะสะเก็ดเพชร สื่อให้เห็นว่าสมัยก่อน
เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งที่สมบูรณ์ อาทิ 
หญ้าทะเล พะยูน และเต่าทะเล เป็นต้น และมีคุณค่าดั่งเพชรเม็ดงาม
แต่ปัจจุบัน อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การพัฒนาแหล่งชุมชนและอื่นๆ
มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอย่างมาก
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรม
อันเป็นเหตุให้หญ้าทะเล แนวปะการังและสัตว์น้ำลดจำนวนลง


โรงไฟฟ้า BLCP เล็งเห็นความสำคัญ จึงร่วมมือสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1,ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ,เทศบาลเมืองมาบตาพุด และ กลุ่มประมงในพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้หญ้าทะเลแห่งแรกในมาบตาพุด

ในปี 2564 ได้มีคำสั่งจากกรมทรัพยำกรทางทะเลและชายฝั่งที่ 673/2564
เรื่อง การคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณพื้นที่เกาะสะเก็ด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ได้กำหนดแนวทางการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณพื้นที่เกาะสะเก็ด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เพื่อระงับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเกาะสะเก็ด เช่น
ห้ามบุกรุก ก่อสร้ำง แผ้วถำง ตัด ฟันไม้ หรือกระทำการใด ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพพื้นที่ในบริเวณแนวเขตการคุ้มครอง   ห้ามบุคคลใดเข้าไปทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนจม อวนลอย ลอบปู
และเบ็ดราว ในบริเวณพื้นที่แนวเขตการคุ้มครอง  ห้ามให้อาหารสัตว์น้ำที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อล่อ จับ ได้มา หรือเก็บสัตว์น้ำ ในบริเวณพื้นที่แนวเขตการคุ้มครอง เป็นต้น
การลงนามความร่วมมือ (MOU)-1 การลงนามความร่วมมือ (MOU)-2

การลงนามความร่วมมือ (MOU)

24 กุมภาพันธ์ 2564 - จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ครั้งแรกใน จ.ระยอง “โครงการศึกษาวิจัยปลูกหญ้าทะเล” เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรบริเวณเกาะสะเก็ด จ. ระยอง  โดยมีหน่วยงานที่ร่วมลงนามได้แก่ 
•สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1
• ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก 
•เทศบาลเมืองมาบตาพุด
•บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด

กิจกรรม “รักษ์หญ้าทะเลกับบีแอลซีพี”

2 เมษายน 2564 - บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (BLCP) ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1,  ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก และเทศบาลเมืองมาบตาพุด จัดกิจกรรมปลูกหญ้าทะเล แปลงที่ 1 จำนวน 2 ไร่ ภายใต้โครงการ “รักษ์หญ้าทะเลกับบีแอลซีพี” เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรบริเวณเกาะสะเก็ด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โดยมีนายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานในพิธีฯ
กิจกรรม “รักษ์หญ้าทะเลกับบีแอลซีพี”-1 กิจกรรม “รักษ์หญ้าทะเลกับบีแอลซีพี”-2

กิจกรรม “รักษ์หญ้าทะเลกับบีแอลซีพี”

ระบบนิเวศทางทะเล (MARINE ECOSYSTEM)

ระบบนิเวศทางทะเล (MARINE ECOSYSTEM)

ระบบนิเวศชายหาด
ระบบนิเวศป่าชายเลน

ระบบนิเวศหญ้าทะเล (SEAGRASS ECOSYSTEM)

ระบบนิเวศแนวปะการัง
ระบบนิเวศทะเลเปิด
ระบบนิเวศทะเลลึก
เป็นระบบนิเวศชายฝั่งทะเลที่มีความสำคัญมาก ประกอบด้วยกลุ่มของพืชดอก เช่น หญ้าทะเล
ที่ปรับตัวเติบโตอยู่ได้ในทะเลและสามารถเจริญได้ดีในบริเวณน้ำตื้นที่มีแสงแดดส่องถึง
มีความหลากหลายของสายพันธุ์สัตว์น้ำ สัตว์หายาก มากที่สุด

หญ้าทะเล เป็นพืชมีดอกที่ปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในทะเล โดยส่วนใหญ่อยู่เป็น
กลุ่มตามชายฝั่งในบริเวณที่แสงส่องถึง แหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงระหว่าง
ป่าชายเลนและแนวปะการัง 

หญ้าทะเลมีลักษณะและลำต้นได้ดินที่เจริญเติบโตสานกันไปกันมาอยู่ใต้ดินส่วนรากจะยึดดินตะกอนเอาไว้ หญ้าทะเลบางชนิดยังมีรากที่หยั่งลึกลงไปในดินมากกว่า 1 เมตร ทำให้ลดการกัดเซาะและป้องก้นการพังทลายของชายฝั่งได้อย่างดี ใบหญ้าทะเลจะลดความรุนแรงของคลื่นทำให้มีการตกตะกอนของสารแขวนลอยในน้ำลงสู่พื้นดินได้ดียิ่งขึ้น บริเวณจึงเป็นบริเวณที่มีการดักจับและสะสมตะกอนสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์จำนวนมาก

หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides
หญ้ากุยช่ายทะเล (Halodule uninervis
หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia)
-1
-1

หมึกหอม หรือหมึกตะเภา มีลักษณะคล้ายหมึกกระดอง กระดองของหมึกหอมจะเป็นแผ่นใส เห็นเส้นกลางกระดอง ได้อาศัยแนวหญ้าทะเลเป็นแหล่งวางไข่และอนุบาลปลาหมึก วางไข่บริเวณลำต้นและใบหญ้าทะเล นอกจากนั้นก็มีสัตว์หลายชนิด เช่น ปลากระทุงเหว

ปลาสลิดหินจุดขาว ( Siganus sp.) กินพวกสัตว์น้ำตัวเล็กๆ อย่าง กุ้งเต้น แอมฟิพอด ที่กระจายอยู่ทั่วไปในตะกอนดินและบริเวณใบหญ้าทะเล ซึ่งมีความสำคัญต่อแนวหญ้าทะเล คือ เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคอันดับสูงกว่า

เต่าตนุ กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร อย่างไรก็ตาม การกินอาหารของเต่าทะเลแตกต่างจากพะยูน เนื่องจากเต่าทะเลจะกินสาหร่ายเป็นอาหารและจะเข้ามาอาศัยหากินในช่วงที่เจริญเติบโตเต็มวัยแล้วโดยจะเล็มกินใบหญ้าทะเลเท่านั้น

ฉลามหูดำ เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ตามชายฝั่ง น้ำกร่อยแนวป่าชายเลน และชายฝั่งน้ำตื้น เคลื่อนที่เข้ามาเพื่อหาอาหารในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณใกล้เคียง

Nitrogen cycle

สิ่งมีชีวิตขับของเสียที่เป็น แอมโมเนีย (NH4) ซึ่งมีพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิต แต่เมื่อมีแอมโมเนียเกิดขึ้น ธรรมชาติเอง มีแบคทีเรียที่ชื่อ Nitrosomonas Bacteria เพื่อทำหน้าที่ย่อยสลาย เป็นแบคทีเรียในกลุ่ม Aerobic Bacteria ใช้ออกซิเจน และสารประกอบของอินทรีคาร์บอนที่อยู่ในน้ำ เพื่อย่อยสลายแอมโมเนีย ให้กลายเป็น ไนไตรท์ (NO2) หลังจากนั้นจะมีแบคทีเรียที่ชื่อว่า Nitrobacter Bacteria เพื่อย่อยสลายไนไตรท์อีกที แบคทีเรียทั้งสองชนิดนี้ถูกเรียกชื่อรวมๆ กันว่า Nitrifying Bacteria ย่อยสลายไนไตรท์ ให้กลายเป็นไนเตรท (NO3) เป็นสารอาหารของพืชน้ำต่อไป
Nitrogen cycle-1
Carbon cycle-1

Carbon cycle

โลกของเรามีวัฏจักรของคาร์บอนหมุนเวียนผ่านสิ่งมีชีวิตและวัตถุต่าง ๆ เช่น การหมุนเวียนผ่านการสังเคราะห์แสงของพืชบนดินไปจนถึงพืชในน้ำ การหมุนเวียนของคาร์บอนผ่านพืชและสัตว์น้ำเรียกว่า ”บลูคาร์บอน”

หญ้าทะเลสามารรักษาสมดุลคาร์บอนของโลก เพราะแหล่งหญ้าทะเลหนาแน่นสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ได้มากกว่าที่ใช้เพื่อการหายใจ และเติบโต
คาบอนไดน์ออกไซน์จากบนบก และสัตว์น้ำ หญ้าทะเลจะตรึง คาร์บอนไดออกไซน์เก็บไว้ในรูปแบบของมวลชีวภาพ เช่น ราก ใบ ลำต้น และเปลี่ยนเป็น ออกซิเจน
ในมวลน้ำแทนจากกระบวนการสังเคราะห์แสง ความสามารถในการดูดซับและเก็บคาร์บอนไว้ในก้นทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่่มีออกซิเจนน้อยมาก โดยเมื่อหญ้าทะเลตาย จะทับถมกลายเป็นตะกอนใต้ผืนทะเล ตะกอนที่ปราศจากออกซิเจนนี้จะดักจับคาร์บอนไว้นานเป็น 100 ปี นับว่าหญ้าทะเลมีส่วนช่วยลดโลกร้อน