Go to Top

โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลบริเวณเกาะสะเก็ด

เกาะสะเก็ด หรือ เกาะสะเก็ดเพชร ในอดีตเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดระยองมาช้านาน เป็นเกาะเล็กๆ ห่างจากชายฝั่งหาดทรายทอง 3-4 กิโลเมตรเท่านั้น อยู่ในเขตปกครองของเทศบาลเมืองมาบตาพุด มีนายเพชร สุวรรณกูฏ เป็นผู้ได้รับสัมปทานและปรับปรุงให้เป็นสถานที่พักตากอากาศ  โดยการสร้างบ้านพักบนเกาะจำนวนหลายสิบหลังมีนักท่องเที่ยวไปใช้บริการไม่ขาดสาย แต่ปัจจุบันไม่มีบ้านพักแล้ว

ความเป็นมาของโครงการ

เกาะสะเก็ด หรือ เกาะสะเก็ดเพชร ในอดีตเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดระยองมาช้านาน เป็นเกาะเล็กๆ ห่างจากชายฝั่งหาดทรายทอง 3-4 กิโลเมตรเท่านั้น อยู่ในเขตปกครองของเทศบาลเมืองมาบตาพุด มีนายเพชร สุวรรณกูฏ เป็นผู้ได้รับสัมปทานและปรับปรุงให้เป็นสถานที่พักตากอากาศ  โดยการสร้างบ้านพักบนเกาะจำนวนหลายสิบหลังมีนักท่องเที่ยวไปใช้บริการไม่ขาดสาย แต่ปัจจุบันไม่มีบ้านพักแล้ว

ต่อมาได้มีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี Eastern Seaboard ทำให้พื้นที่ติดกับหาดทรายทองเก่า 6,000 ไร่ ถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และมีการถมทะเลออกไปเพื่อขยายที่ตั้งโรงงานเพิ่มขึ้น ทำให้คลื่นลมทะเลกัดเซาะบริเวณหาดทรายทอง หาดแสงจันทร์ ปากน้ำระยอง บริเวณชายหาดพังเสียหาย ทำให้หาดทรายทอง หาดแสงจันทร์ กลายมาเป็นเขื่อน เหลือแต่ชื่อที่อยู่ในความทรงจำของชาวบ้านและนักท่องเที่ยวจนทุกวันนี้ หลังมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ไม่นาน สภาพอากาศบริเวณหาดทรายทองเต็มไปด้วยมลภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ นักท่องเที่ยวเริ่มหนีไปเที่ยวที่อื่น ธุรกิจบ้านพักตากอากาศบนฝั่งหาดทรายทองและที่เกาะสะเก็ดต้องล่มสลาย เกาะสะเก็ดถูกปล่องทิ้งรกร้างมานานจนถึงปัจจุบัน

หลังจากนั้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ส่งมอบเกาะให้กับจังหวัดระยอง จังหวัดระยองมอบให้กับเทศบาลเมืองมาบตาพุด ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ดูแลรับผิดชอบแทน โดยปล่อยให้พื้นที่บนเกาะและชายหาดดำรงอยู่ต่อไปตามธรรมชาติ 
เป้าหมายของโครงการ-1 เป้าหมายของโครงการ-2

เป้าหมายของโครงการ

• ฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณเกาะสะเก็ด
• เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ 
• เพิ่มทรัพยากรนิเวศทางทะเล
• สร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้อย่างยั่งยืน 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มประมงเรือเล็ก และชุมชนในพื้นที่
2. เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณเกาะสะเก็ด จังหวัดระยอง
3. เพื่อสร้างความร่วมมือในการดูแลรักษาระบบนิเวศบริเวณเกาะสะเก็ด ระหว่างโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ กลุ่มประมงเรือเล็กในพื้นที่ และชุมชนในพื้นที่ ตามนโยบายและความมุ่งมั่นด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร

เพื่อสร้างจิตสำนึกระหว่างพนักงาน กลุ่มประมง และชุมชนในพื้นที่

เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณเกาะสะเก็ด จังหวัดระยอง

เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือในการดูแลรักษาระบบนิเวศบริเวณเกาะสะเก็ด ระหว่างโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ กลุ่มประมงเรือเล็กในพื้นที่ และชุมชนในพื้นที่ ตามนโยบายและความมุ่งมั่นด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

หลักการและเหตุผล

จากที่ได้ทำการทดลองเพาะเลี้ยงปะการัง เมื่อปี 2018 บริเวณทางด้านทิศเหนือของกองหินใหญ่ พบว่าแพเพาะเลี้ยงหรือแพอนุบาลปะการังได้รับผลกระทบจากพายุ ทำให้ปะการังเสียหายจำนวนมาก จึงได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายปะการังที่ยังคงมีชีวิตรอดไปเพาะเลี้ยงที่เกาะไก่เตี้ย หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน สัตหีบ จ.ชลบุรี พร้อมทั้งได้ลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างบริษัทฯ กับ นย. และได้ติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด แต่ปรากฏว่าปะการังดังกล่าวได้ตายทั้งหมด จากผลสรุปรายงานเมื่อปี 2018 สรุปได้ว่าพื้นที่บริเวณเกาะสะเก็ดยังไม่พร้อมในการฟื้นฟูปะการัง เนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความอ่อนไหว อีกทั้งคุณภาพน้ำมีตะกอนค่อนข้างมากทำให้สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของปะการัง 

ปี 2019 ได้มีการปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณเกาะสะเก็ด และบันทึกข้อตกลงกับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาดังกล่าวนั้น ในปี 2020 จะปรับเปลี่ยนแผนโดยการจัดกิจกรรมเก็บขยะบริเวณเกาะสะเก็ด และดำน้ำเก็บขยะใต้ทะเล เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากร และระบบนิเวศทางทะเล อีกทั้งเป็นการร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กลุ่มประมง ชุมชน และภาครัฐ

วิธีดําเนินงาน

เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มประมงเรือเล็ก และชุมชนในพื้นที่ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณเกาะสะเก็ด จังหวัดระยอง เพื่อสร้างความร่วมมือในการดูแลรักษาระบบนิเวศบริเวณเกาะสะเก็ด ระหว่างโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ กลุ่มประมงเรือเล็กในพื้นที่ และชุมชนในพื้นที่ ตามนโยบายและความมุ่งมั่นด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

สถานที่ดําเนินการ

บริเวณเกาะสะเก็ด

การประเมินผล

สร้างรายได้ให้กลุ่มประมง ปี 2559-2560 เป็นเงินทั้งสิ้น 1,112,194 บาท สร้างงานได้ 20 งานให้แก่ชาวประมง ปะการังเทียม จำนวน 400 ก้อน จากการสำรวจหลังการทิ้งวางปะการังเทียมพบว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล และมีสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ปริมาณค่อนข้างหนาแน่น เช่น ปลา หอยแมลงภู่ และปู เป็นต้น