Go to Top

หวั่นประมูลปิโตรฯยื้อ คนไทยแบกค่าไฟเพิ่ม

ข่าว และกิจกรรม

2018/05/02
วงเสวนาฯ ห่วงประมูล “แหล่งเอราวัณ-บงกช” ล่าช้า เพราะมีคนต้าน อาจได้ผู้
ชนะไม่ทันตามแผน ท าให้ผลิตก๊าซไม่ทันหมดอายุสัมปทานปี 2564-
2565 กระทบต่อโรงไฟฟ้า 10 แห่ง 1.2 หมื่นเมกะวัตต์ไม่มีวัตถุดิบเข้าโรงแยก
ก๊าซ จะกระทบเอสเอ็มอี 1 หมื่นราย รัฐสูญเสียรายได้กว่า 4.5 แสนล้านบาทต่อปี
อาจดับฝันอีอีซี
การประมูลปิโตรเลียมในอ่าวไทยแหล่งเอราวัณและบงกชมีการประกาศเชิญชวน
ไปแล้ว และวันที่ 15-16 พ.ค.นี้ กระทรวงพลังงานก าหนดให้ผู้สนใจประมูลยื่น
คุณสมบัติเบื้องต้นให้พิจารณา ก่อนจะประกาศผลคุณสมบัติเบื้องต้นในช่วงปลาย
พ.ค.นี้ และที่ผ่านมาภาครัฐยืนยันว่าลงนามสัญญาได้ใน ก.พ.2562
นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
กล่าวในการเสวนาหัวข้อ “บงกช เอราวัณ ล่าช้าตัดโอกาส ลดศักยภาพ
เศรษฐกิจไทย” โดยระบุว่าจากการประเมินสถานการณ์ไม่มั่นใจว่าจะได้ชนะ
ประมูลตามระยะเวลา เพราะจะมีการคัดค้านเป็นวงจรเหมือนอดีต ซึ่งรัฐเคยบอก
ว่าจะประมูลเสร็จในปี 2559 แต่ก็ช้ามากว่า 2 ปี ท าให้รัฐขาดความน่าเชื่อถือ ซึ่ง
รัฐบาลต้องเรียกศรัทธากลับมาโดยเร็ว และหากได้ผู้ชนะเข้ามาด าเนินการทั้ง 2
แหล่ง ตามก าหนด ก.พ. 2562 แต่ก็ยังมีความสุ่มเสี่ยงต่อการขาดแคลนก๊าซ
ธรรมชาติอยู่สูง ซึ่งหากผู้ชนะการประมูลเป็นรายเก่า ก็อาจจะลงทุนรักษาระดับ
การผลิตได้ 1.5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ได้ตามสัญญา เพราะมีความ
เชี่ยวชาญในแหล่งเดิมอยู่แล้ว แต่ถ้าหากได้ผู้ด าเนินงานรายใหม่ ก็อาจจะส ารวจ

และผลิตให้ได้ตามสัญญาได้ทันภายใน 3 ปี อาจต้องใช้เวลา 3-6 ปี ซึ่งในช่วงที่
ก๊าซใน 2 แหล่งนี้หายไปจากระบบ จะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติรุนแรงมาก
“ถ้ายังมีผู้คัดค้านไม่มีทีสิ้นสุด ก็มีแนวโน้มสูงว่าจะประมูลไม่เสร็จตามเป้าหมาย
ก.พ.2562 และหากเลื่อนออกไปอีก ก็มีแนวโน้มสูงที่ก๊าซธรรมชาติทั้ง 2 แหล่ง
จะหายไปหลังปี 2565-2566 และหากก๊าซธรรมชาติมนส่วนนี้หากไป ก็จะส่งผล
กระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ รัฐจึงต้องด าเนินการโดยเร็ว”
ส่วนผลกระทบที่เกิดจากก๊าซธรรมชาติทั้ง 2 แหล่งนี้หายไป จะท าให้ก๊าซฯ
หายไปจากระบบถึง 2.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งหากแก้ไขโดยการน าเข้า
ก๊าซแอลเอ็นจี เข้ามาทดแทน ก็สามารถท าได้ แต่ติดปัญหาไม่มีคลังก๊าซแอล
เอ็นจีที่เพียงพอ จะต้องสร้างคลังแอลเอ็นจีเพิ่มอีก 3-4 เท่าตัว จากปัจจุบัน ซึ่ง
เร็วที่สุดก็จะใช้เวลา 3-4 ปี เพราะจะต้องใช้เวลาหาสถานที่เหมาะสม ดังนั้นหาก
ก๊าซฯในส่วนนี้หายไป จะกระทบต่อโรงไฟฟ้าถึง 10 แห่ง ประมาณ 1.2 หมื่นเมกะ
วัตต์ คิดเป็นปริมาณไฟฟ้าเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ หากระบบไฟฟ้าไม่มั่นคง ก็
จะกระทบต่อภาคการผลิต และธุรกิจต่างๆ และหากน าก๊าซแอลเอ็นจีเข้ามาใช้
ทดแทน ก็จะท าให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 18 สตางค์ต่อหน่วย โดยคิดจากราคาแอล
เอ็นจีที่ 10 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ขณะที่ก๊าซฯจากอ่าวไทยราคาเพียง 4-5
ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู และก๊าซฯน าเข้าจากเมียนมาอยู่ที่ 7-8 ดอลลาร์ต่อล้านบีที
ยู ท าให้ต้นทุนการผลิตของไทยเพิ่มขึ้นจนส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขัน
ของประเทศ
อ้างเรื่องใหญ่กระทบอีอีซี
นายบวรกล่าวด้วยว่า หากไม่มีก๊าซธรรมชาติป้อนเข้าโรงแยกก๊าซ ก็จะท าให้ไม่
สามารถผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ าที่ส าคัญของอุตสาหกรรมต่างๆ
ส่งผลกระทบต่อโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เนื่องจาก
อุตสาหกรรมที่ส าคัญในพื้นที่นี้ คือ ปิโตรเคมี ที่จะต่อยอดไปสู่ปิโตรเคมีชั้นสูง ท า
ให้ต่างชาติขากความเชื่อมั่นเข้ามาลงทุน รวมทั้งจะกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีนับ
หมื่นราย ที่ต้องใช้เม็ดพลาสติกมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะจะต้องน าเข้า
เม็ดพลาสติกจากต่างประเทศที่มีราคาแพงกว่า ท าให้ต้นทุนสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น
รวมทั้งท าให้จุดแข็งของประเทศไทยในเรื่องของปิโตรเคมี ก็จะด้อยลง ยังมีความ
เสี่ยงในเรื่องของแหล่งก๊าซฯที่ไทยซื้อจากเมียนมาก เนื่องจากมีแนวโน้มสูงที่

เมียนมาจะไม่ต่ออายุสัมปทานให้กับแหล่งก๊าซฯยานาดาที่จะหมดอายุสัมปทาน
ในปี 2567 และแหล่งเยตากุน ที่จะหมดสัญญาในปี 2565 ซึ่งจะซ้ าเติมภาวะขาด
แคลนก๊าซธรรมชาติของไทย
“ผลกระทบที่เกิดขึ้นขยายไปอย่างกว้างขวางกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ และท าให้รัฐสูญเสียรายได้ไปกว่า 4.5 แสนล้านบาทต่อปี และท าให้
โครงการ อีอีซี เป็นเรื่องฝันเฟื่อง”
ด้านนายฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียม
มากถึง 20 ครั้ง ไม่เคยมีปัญหา แต่ในครั้งที่ 21 มีปัญหามาก ซึ่งในตลอด 20 ครั้ง
มีเพียงครั้งแรกๆที่พบแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ นอกจากนี้ แทบจะไม่พบเลย ดังนั้น
หากก าหนดเงื่อนไขสัมปทานที่เข้มข้นจนภาคเอกชนอยู่ไม่ได้ ก็จะไม่มีใครเข้ามา
ลงทุน ซึ่งจะท าให้ทรัพยากรที่ไทยพอจะมีอยู่บ้างไม่เกิดประโยชน์อะไร ดังนั้น
จะต้องมองในมุมของนักลงทุนบ้าง เพื่อให้เกิดความสมดุล และทุกฝ่ายเดินหน้า
ต่อไปได้
โดยภายใน 10-20 ปี ไทยจะต้องน าเข้าแอลเอ็นจีมาใช้แทนก๊าซธรรมชาติที่ผลิต
ภายในประเทศอย่างแน่นอน ซึ่งก๊าซแอลเอ็นจีที่น าเข้ามีแต่มีเทน ที่น าไปเผาเพื่อ
ผลิตไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถน าไปแยกเป็นวัตถุดิบปิโตรเคมีต่างๆได้
เลย ดังนั้นจะต้องเร่งเปิดสัมปทานรอบที่ 21 เพื่อให้เกิดการส ารวจปิโตรเลียม
แหล่งใหม่ๆ ซึ่งแม้ว่าจะมีน้อย แต่ก็เข้ามาช่วยทดแทนในส่วนที่น าเข้าได้
นอกจากผู้ประกอบการธุรกิจส ารวจและผลิตปิโตรเลียมได้รับผลกระทบจากความ
ล้าช้าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยังประสบปัญหากับราคาน้ ามันถูกลงจาก 150 ดอลลาร์
ต่อบาร์เรล เหลือเพียง 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องชะลอ
การลงทุน และปลดคนงานออก ตลอดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาควิชาการ
ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ต้องปรับลดการผลิตนักศึกษาเข้าสู่ธุรกิจดังกล่าวลง
โดยในส่วนของจุฬาฯ ได้ปรับลดการผลิตนักศึกษาในภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
และปิโตรเลียมลงเหลือ 10 คน จากเดิมผลิตปีละ 20 คน ซึ่งหากสถานการณ์ยัง
เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อการผลิตอุตสาหกรรมต้นน้ าและท าให้ไทยเสีย
ศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดอาเซียนไป

นายภูวดล สุนทรวิภาต ตัวแทนผู้ประกอบการด้านการส ารวจและผลิตปิโตรเลียม
ในประเทศไทย กล่าวว่า จากราคาน้ ามันดิบที่ต่ าลงช่วงที่ผ่านมาประกอบกับรัฐไม่
มีนโยบายเปิดส ารวจและผลิตรอบใหม่ส่งผลให้แท่นขุดเจาะใหม่ลดการลงทุนไป
50% ธุรกิจผลิตแท่นก็มีการปลดพนักงานไปแล้ว 2 พันคน เป็นต้น ยังไม่รวม
ธุรกิจต่อเนื่องต่างๆ ซึ่งรัฐต้องเข้าใจว่าธุรกิจนี้ตั้งแต่ต้นน้ าจนถึงปลายน้ านั้นเป็น
ห่วงโซ่ที่ยาวมากส าคัญไม่น้อยไปกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนใหญ่ใช้
แรงงานคนไทย