Go to Top

พลังงานหมุนเวียน ทางเลือกสะอาดต้นทุนแพง

ข่าว และกิจกรรม

2018/01/05
ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเรื่องของพลังงานเป็นหัวข้อหลักที่คนนิยมให้
ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากส่วนหนึ่งอาจจะมาจากค าว่าเทคโนโลยีที่ท า
ให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และอีกอย่างคงมาจากค าที่บอกว่า
"เดี๋ยวนี้ใครก็ผลิตไฟฟ้าใช้เองได้" ซึ่งมันแตกต่างจากอดีตจริงๆ ในยุคที่คน
ไทยต้องอาศัยการผลิตจากโรงไฟฟ้าหลักของประเทศ ผ่านการก ากับ
ควบคุม และดูแลของหน่วยงานรัฐบาล

ไม่ว่าเราจะใช้ไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน ก็ต้องต่อสายไฟจากระบบหลักเข้ามา
โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ผลิต และการไฟฟ้า
นครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้ให้บริการแจกจ่าย
ไฟ และเก็บค่าบริการ ซึ่งค าว่าผลิตไฟฟ้าใช้เองในยุคนั้นคงไกลตัว แต่ก็
อาจจะเกิดขึ้นบ้างกับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่เข้ามาท าธุรกิจเกี่ยวกับการ
ซื้อขายไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบของ กฟผ. แต่ในส่วนของประชาชน ผู้อยู่อาศัย
ทั่วไปแทบไม่มี
จนโลกได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีให้ทันสมัยมากขึ้น คนทั่วไปเริ่ม
หาช่องทางในการเป็นเจ้าของบางสิ่งบางอย่าง นวัตกรรมใหม่ๆ ถูกน าเข้ามา
ในประเทศ รวมถึงอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานที่มีอยู่รอบตัวเรา
อย่างเช่น แผงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ แผง
โซลาร์เซลล์
ซึ่งเมื่อก่อนอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในปัจจุบันยุคสมัยนี้กลับมีหลาย
บ้านเรือนที่อยู่อาศัยติดตั้งแผงดังกล่าวเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองในช่วงกลางวัน
แล้วอย่างแพร่หลาย รวมถึงบริษัทเอกชนหลายที่ผันตัวเองเข้ามาท าธุรกิจ
ด้านการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนส าคัญมาจากการ

ดำเนินงานดังกล่าวก าลังเป็นที่นิยมของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และประเทศ
ไทยเองก็เปิดกว้างให้คนเข้ามาด าเนินการอย่างแพร่หลาย
และในปัจจุบันมีโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนการผลิตไฟฟ้าใช้เอง รวมถึง
ผลิตไฟฟ้าเพื่อขายไปเข้าระบบให้กับรัฐบาล เพื่อไปจัดสรรในพื้นที่ที่
ต้องการไฟเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และด้านการแข่งขันทางการตลาด ก็มีหลาย
บริษัท มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรด าเนินการ เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการแย่ง
ชิงส่วนแบ่งการตลาดใหม่ๆ ด้วย เพื่อให้สะท้อนถึงความเอาใจใส่ต่อโลก ใช้
พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า และไม่สร้างมลพิษให้กับสังคม เสมือน
ว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนนั้นสะท้อนตัวตนของการรักโลก
เป็นพลังงานที่จะท าให้โลกสวยงาม...
ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยจึงมีโครงการของรัฐมากมายที่เปิดให้กับเอกชน
หรือรัฐวิสาหกิจเองเข้ามาท าเงินกับการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายให้กับระบบเกือบ
ทุกพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ อาทิ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล เป็นต้น ทั้งนี้
จากข้อมูลของทั้ง 3 การไฟฟ้าเมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2560 มีโรงไฟฟ้า
พลังงานหมุนเวียนของเอกชน ทั้งขนาดเล็ก (เอสพีพี) และเล็กมาก (วีเอส
พีพี) ที่มีสัญญาซื้อขายไฟและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (ซีโอดี)
แล้วรวมกว่า 946 โครงการ ก าลังการผลิตติดตั้ง 6,957 เมกะวัตต์ และ
ปริมาณการขายตามสัญญา 5,329.689 เมกะวัตต์
แบ่งตามเชื้อเพลิง ได้แก่ โรงไฟฟ้าขยะ 31 โครงการ ก าลังการผลิตติดตั้ง
188.422 เมกะวัตต์ ปริมาณการขายตามสัญญา 172.460 เมกะวัตต์
โรงไฟฟ้าชีวมวล 195 โครงการ ก าลังการผลิตติดตั้ง 2,972.370 เมกะวัตต์
ปริมาณการขายตามสัญญา 1680.173 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ
165 โครงการ ก าลังการผลิตติดตั้ง 367.245 เมกะวัตต์ ปริมาณการขาย
ตามสัญญา 306.246 เมกะวัตต์
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ า 9 โครงการ ก าลังการผลิตติดตั้ง 30.082 เมกะวัตต์
ปริมาณการขายตามสัญญา 19.212 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม 18
โครงการ ก าลังการผลิตติดตั้ง 615.170 เมกะวัตต์ ปริมาณการขายตาม
สัญญา 585.650 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 530
โครงการ ก าลังการผลิตติดตั้ง 2,783.710 เมกะวัตต์ ปริมาณการขายตาม
สัญญา 2,565.948 เมกะวัตต์
เห็นได้ว่าหลังจากที่รัฐบาลเริ่มสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
แสงอาทิตย์ไม่กี่ปี ก็มีเอกชนมากหน้าหลายตาเข้ามาลงเล่นในธุรกิจ
ดังกล่าว ส่งผลให้ตัวเลขก าลังการผลิตพุ่งสูงขึ้นทวีคูณ และมีแนวโน้มจะ
สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะหลายคนมองว่าเป็นโอกาสทองในการเข้ามาด าเนิน
ธุรกิจ และต้องการที่จะมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอีก
แต่สิ่งที่ตามมาจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
คือเรื่องที่ต้องท าให้มีการปรับเปลี่ยนแผนพัฒนาก าลังการผลิตไฟฟ้าของ


ประเทศ หรือแผนพีดีพี 2015 ใหม่ด้วย เนื่องจากตามแผนเดิมนั้นมีการ
ก าหนดผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศ 12,105 เมกะวัตต์ แต่
เมื่อผ่านมาไม่กี่ปี ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนก็เข้าระบบไปแล้วกว่าครึ่ง
ของยอด จนท าให้หลายฝ่ายนั้นมองว่าหากถึงปลายแผนในปี 2579 ความ
ต้องการขายไฟของพลังงานหมุนเวียนนั้นคงเกินจากเป้าหมายไปอีกมาก
แน่นอน
รวมถึงที่ นายบุญรอด สัจจกุลนุกิจ อาจารย์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า การพัฒนาของ
พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะโซลาร์เซลล์ หากต่อไปมีการผลิตเองใช้เอง
มากยิ่งขึ้น ความต้องการของไฟฟ้าจากระบบจะเปลี่ยนไป จากกลางวันเป็น
กลางคืนแทน จากเดิมที่ช่วงกลางวันจะมีความต้องการใช้ไฟสูงก็จะกลับไป
เป็นความต้องการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางคืนสูงขึ้น
ส่งผลให้ กฟผ.อาจต้องเตรียมระบบส ารองไฟฟ้า เช่น การมีแบตเตอรี่
ส ารอง โรงไฟฟ้าพลังน้ าแบบสูบกลับ การสร้างระบบส่งไฟฟ้ารองรับใน
พื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดมาช่วยการบริหารจัดการ
ระบบไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้ระบบไฟฟ้ายังมีความมั่นคง และมีค่าไฟฟ้า
เหมาะสมเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และประชาชน
ทั่วไป ขณะเดียวกัน การเข้าระบบของพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น ก็จะไป
กระทบกับ "ค่าไฟฟ้า" ด้วย
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการก ากับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าว
ว่า กกพ.อยู่ระหว่างจัดท าโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่เพื่อบังคับใช้ช่วง 3 ปี
ข้างหน้า (2561-2564) โดยมีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาแล้ว คาด
ว่าจะสามารถประกาศใช้อย่างเป็นทางการช่วงกลางปี 2561 เพื่อบังคับใช้
กับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติงวดสุดท้ายของปี
โดยต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่มีผลต่อรูปแบบการผลิต
ไฟฟ้า ที่อนาคตจะเน้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น จากเท
รนด์ของโลกและต้นทุนที่ถูกลง ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าเองได้ และ
เชื่อว่าในอนาคตการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีสัญญา
เดินเครื่อง 20 ปีจะลดลงและอาจหมดไป ขณะเดียวกันก็จะมีการผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อ านวยการส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน
(สนพ.) กล่าวว่า แนวโน้มพลังงานหมุนเวียนในปีหน้า เชื่อว่าจะเป็นอีกปีที่มี
การแข่งขันสูง มั่นใจว่าผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งในตัว ซึ่งต่อไปอาจจะ
มีการต่อยอดที่นอกเหนือจากผลิตและใช้ในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเห็นการ
ไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เอาความรู้ที่เกิดขึ้นในประเทศกระจายไปใน
ต่างประเทศ


"ผลกระทบของพลังงานหมุนเวียนในค่าไฟนั้น เกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งหาก
รัฐบาลจะมีการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในอนาคต ก็ต้องค านึงถึงด้านนี้
ด้วย แต่หากพลังงานหมุนเวียนบางชนิดที่อยู่ในจุดสามารถแข่งขันได้ และ
ไม่กระทบมากต่อประชาชน ก็ควรจะมีการส่งเสริมให้เดินหน้าต่อ แต่ขณะนี้
ที่เห็นได้ชัดว่ารัฐที่จะสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนก็ต้องอุดหนุน
ผู้ประกอบการเพื่อสร้างแรงจูงใจ"
หากเปรียบพลังงานหมุนเวียนกับพลังงานฟอสซิล พลังงานหมุนเวียนย่อม
แพงกว่า เพราะเกิดขึ้นทีหลัง ต้องซื้อเครื่องจักรใหม่ เทคโนโลยีใหม่
ต้นทุนต่อหน่วยจึงแพงกว่าแน่นอน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสที่ไฟฟ้า
จากพลังงานหมุนเวียนจะถูกลงได้ ซึ่งก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีพัฒนาอุปกรณ์
ต่างๆ ให้ถูกลง รวมถึงการพัฒนาแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (เอนเนอร์ยี่
สตอเรจ) ให้ถูกตามมาด้วย รัฐก็จะได้ลดภาระในส่วนที่ต้องไปอุ้มพลังงาน
หมุนเวียนอยู่ ทั้งเงินที่อุดหนุนในราคาสูง และการสร้างโรงไฟฟ้าอื่นๆ เพื่อ
ส ารองให้กับระบบหากเมื่อพลังงานหมุนเวียนแทนไม่สามารถเดินและ
จ่ายไฟได้
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลังงานหมุนเวียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นพลังงาน
สะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปัญหามลพิษและเป็นแหล่ง
พลังงานตามธรรมชาติ และสามารถน ากลับมาใช้ใหม่ได้ ทั้งยังแก้ไขปัญหา
การขาดแคลนพลังงาน ซึ่งหากในอนาคตถ้าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
หมุนเวียนนั้นมีความเสถียร และราคาเทียบเท่ากับพลังงานหลัก เชื่อว่า
หลายคนก็คงเลือกจะใช้มัน ขณะที่ในปัจจุบันที่คนอาจจะมองว่าท าให้ค่า
ไฟฟ้าแพงขึ้น แต่มันก็เป็นก้าวแรกที่จะต่อยอดไปในอนาคตที่จะมี
เทคโนโลยีมาจัดการกับปัญหาต่างๆ ซึ่งต้องมองว่าหากไม่มีการเริ่มต้นก็จะ
ไม่มีการพัฒนา.
"ผลกระทบของพลังงานหมุนเวียนในค่าไฟนั้น เกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งหาก
รัฐบาลจะมีการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในอนาคต ก็ต้องค านึงถึงด้านนี้
ด้วย แต่หากพลังงานหมุนเวียนบางชนิดที่อยู่ในจุดสามารถแข่งขันได้ และ
ไม่กระทบมากต่อประชาชน ก็ควรจะมีการส่งเสริมให้เดินหน้าต่อ แต่ขณะนี้
ที่เห็นได้ชัดว่ารัฐที่จะสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนก็ต้องอุดหนุน
ผู้ประกอบการเพื่อสร้างแรงจูงใจ"
ค่าไฟฟ้ามาจากไหน?
ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยในแต่ละปี มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่าทุกคนเห็นประโยชน์และความส าคัญของไฟฟ้า
และทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ใน
ชีวิตประจ าวันของเรา ที่ช่วยให้ชีวิตของเรามีความสะดวกสบายมากขึ้น
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อ านวยการส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน
(สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าที่จ่ายกันทุก


เดือนประกอบด้วน 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.ค่าพลังงานไฟฟ้า (ค่าไฟฐาน) ที่
คิดจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างรวมถึงค่าเชื้อเพลิงและการรับซื้อไฟฟ้าตาม
นโยบายต่างๆ รวมถึงค่าระบบส่งไฟฟ้าและค่าระบบจ าหน่ายไฟฟ้า โดยค่า
ไฟฟ้าฐานจะมีการพิจารณาโครงสร้างทุกๆ 3-5 ปี แต่ระหว่าง 3-5 ปีนี้
ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าอาจจะเปลี่ยนไปจากที่คาดการณ์ไว้
2.ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ซึ่งจะพิจารณาทุกๆ 4 เดือน โดยน า
ต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปมาบวก ลบกับค่าไฟฟ้าฐาน เพื่อปรับปรุงค่าไฟฟ้า
ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนจริง 3.ค่าบริการที่คิดจาก กฟภ. และ
กฟน. ที่เป็นผู้บริหารในพื้นที่นั้นๆ และ 4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะได้ออกมาเป็น
ค่าไฟฟ้าในบิลที่จ่ายกันอยู่ทุกเดือน โดยมีคณะกรรมการก ากับกิจการ
พลังงาน (กกพ.) เป็นหน่วยงานในการก ากับสูตรค่าไฟแต่ละเดือน ให้
เป็นไปตามนโยบายที่ก าหนดโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(กพช.)
แม้ว่าประเทศไทยจะสามารถใช้เชื้อเพลิงหลากหลายชนิดในการผลิต
ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ า แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล แต่ก๊าซธรรมชาติ
เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้มากที่สุด และใช้มากกว่า 60% ของการผลิตไฟฟ้า
ทั้งหมด การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิด จะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป
และเปลี่ยนแปลงไปตามราคาตลาดโลก แน่นอนว่า ยิ่งเชื้อเพลิงชนิดใดมี
ความผันผวนสูง จะยิ่งท าให้ค่าไฟฟ้าปรับขึ้นลงมากตามไปด้วย
ส าหรับราคาค่าไฟฟ้าของไทยในครึ่งปีแรกของปี 2560 อยู่ที่ 3.44 บาท
ต่อหน่วย ปรับลดลงจากปลายปี 2559 ที่ 4 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจากการ
ปรับลดราคาลงของก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้มากที่สุด
ถึงแม้วันนี้ราคาก๊าซธรรมชาติอาจจะปรับราคาลดลง แต่การคาดการณ์ราคา
และเลือกใช้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดให้สมดุลก็เป็นสิ่งส าคัญ เพราะหากพึ่งพา
เชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากจนเกินไป เวลาที่เชื้อเพลิงชนิดนั้นๆ มีราคา
เพิ่มสูงขึ้น ก็จะท าให้ประเทศของเราต้องแบกรับภาระค่าไฟที่สูงขึ้นตามไป
ด้วยดังนั้นโดยทฤษฎีแล้ว การกระจายความเสี่ยงด้วยการเลือกใช้เชื้อเพลิง
หลากหลายชนิด จะช่วยให้ประเทศไทยมีค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม เสริมความ
มั่นคงของระบบไฟฟ้า เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และลดภาระ
ของผู้ใช้ไฟฟ้า.