Go to Top

งานค้างสุดหินของ ก.พลังงาน วัดใจ “ศิริ จิระพงษ์พันธ์”

ข่าว และกิจกรรม

2018/01/05
ผ่านเข้าสู่ปี 2561 ท่ามกลางงานค้างที่ลากยาวมาจากปี 2560 และยังเป็น
งานหินวัดใจ “ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์” ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พลังงาน ว่าจะเดินหน้าไปจนจบหรือไม่ อย่างแรกคือ การเปิดประมูลแหล่ง
ปิโตรเลียมส าคัญอย่างแหล่งบงกช และแหล่งเอราวัณ ซึ่งเป็นหัวใจส าคัญ
ในการผลิตก๊าซธรรมชาติได้ถึง 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน


กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ด าเนินการไล่เรียงแก้ไขพระราชบัญญัติ
ปิโตรเลียม โดยเพิ่มรูปแบบแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC (Production
Sharing Contract) และระบบจ้างผลิต หรือ SC (Service Contract) จาก
เดิมที่มีเพียงรูปแบบสัมปทาน (concession) เท่านั้น และขณะนี้กฎหมายที่
เกี่ยวข้อง อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและจะ
ทยอยรายงานต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยวางเป้าว่าต้องประกาศเงื่อนไข
การประมูล (TOR) ในเดือน ก.พ. 61 นี้
โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ดร.ศิริได้รายงานถึงความชัดเจนถึง “เงื่อนไข” ส าคัญที่จะ
ใช้ในการพิจารณาเพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการที่สนใจเข้าประมูลทั้ง 2 แหล่ง
คือ ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่แหล่งปิโตรเลียมจะหมดอายุสัญญาในปี65-66 นั้น
1) ต้องรักษาระดับการผลิตก๊าซขั้นต่ าที่ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และ
2) ก าหนดราคาก๊าซปัจจุบันป็นราคาฐาน
โดย นายวีรศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงฯ ระบุว่า ส าหรับราคาก๊าซ
ก าลังอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะน าฐานเดิมมาปรับอย่างไรให้ผู้ผลิตสามารถ
อยู่ได้ ซึ่งราคาน้ ามันตลาดโลกในปัจจุบันอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
และยังต้องคาดการณ์ราคาน้ ามันไปข้างหน้ามาผสมกัน เพื่อหาสูตรราคาที่
เหมาะสมที่สุดจนถึงนาทีนี้เท่ากับว่ากระทรวงพลังงานเหลือเวลาเพียง 4 ปี
ที่จะต้องเร่งเปิดประมูลทั้งแหล่งบงกชและเอราวัณให้เร็วที่สุดเพราะสิ่งที่ไล่
หลังตามมาคือท้าทายที่ว่า หากไม่สามารถด าเนินการตามก าหนดประเทศ
อาจจะต้องเจอกับวิกฤตด้านพลังงานกระทบกันเป็นโดมิโน่ นอกจากจะขาด
แคลนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าแล้ว การผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
จากโรงแยกก๊าซก็จะลดปริมาณตามไปด้วย ทั้งนี้ในมุมกลับกันหากท าได้
ตามแผน ก็เท่ากับว่าแผนพลังงานด้านอื่น ๆ จะต้องปรับปรุงด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับแผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าใหม่ของประเทศ
หรือ แผน PDP (Power Development Plan) ฉบับใหม่ที่ถือเป็นงานค้าง
อย่างที่ 2 ที่ต้องเร่งด าเนินการให้ชัดเจนเช่นกัน
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อ านวยการส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ
สนพ.ได้รับเงื่อนเวลาจาก ดร.ศิริว่า จะต้องจัดท าแผน PDP ใหม่ให้เสร็จ
ภายในเดือน มี.ค. 61 นี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ สนพ.ได้เริ่มจัดท าในส่วนที่เรียกว่า
“ดีมานด์” ไปแล้วคือ การ “พยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า” เพื่อระบุถึงตัว
แปรส าคัญใดบ้างที่จะกระทบต่อการใช้ไฟฟ้า ที่นอกเหนือจากการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ที่จะใช้ตัวเลขของส านักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ที่ว่าเศรษฐกิจของ
ประเทศจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีตัวแปรหลาย
อย่างเพิ่มขึ้น เช่น เทคโนโลยีอย่างระบบกักเก็บพลังงาน หรือ energy
storage และการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองในรูปแบบ โซลาร์รูฟท็อปที่คาดว่าจะมี
การขยายตัวมากขึ้นฃ

นอกจากนี้ยังรวมถึงตัวแปรส าคัญอีกคือ โครงการของภาครัฐส าคัญ ๆ เช่น
โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic
Corridor) ภายหลังจากที่ค่าพยากรณ์ฯแล้วเสร็จ ขั้นตอนต่อไปคือ การลง
รายละเอียดในแผน PDP ในแง่ของ “ซัพพลาย” ว่า ในแต่ละปีจะมีก าลัง
ผลิตไฟฟ้าใหม่เท่าไหร่ และต้องจัดสรรประเภทเชื้อเพลิงด้วย ที่ส าคัญคือ
ในแผนนี้จะชี้ชัดว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพารวม2
ยูนิต จะยังคงถูกก าหนดไว้ในแผนหรือไม่ ประเด็นนี้ถือเป็นงานค้าง อย่างที่
3 ที่จะต้องปักธงให้ชัดเจน
เมื่อพิจารณาจากก าลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ปัจจุบัน มีก าลังผลิตรวม
2,788 เมกะวัตต์ โดยนายกรศิษฐ์ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า ก าลังผลิตหลักของภาคใต้คือโรงไฟฟ้าจะ
นะ และขนอม นอกจากนี้ยังมีก าลังผลิตเสริมจากภาคกลางผ่านสายส่ง
ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือ peak อยู่ที่ 2,624 เมกะวัตต์
และความต้องการใช้ยังเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.4 ต่อปีอีกด้วย เท่ากับว่า
ภาคใต้มีความจ าเป็นต้องมีก าลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่ และต้องมา
พิจารณาว่าควรจะใช้เชื้อเพลิงประเภทใด
ส าหรับสถานะล่าสุดของโรงไฟฟ้ากระบี่คือ เริ่มต้นใหม่ส าหรับขั้นตอนใน
การจัดท าแบบประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปพร้อม ๆ กับการ
ให้ข้อมูลและท าความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็น
ภารกิจส าคัญที่ ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่
จะต้องเคลียร์ให้จบภายใต้กรอบเวลาอายุของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่เหลือเวลา
น้อยลงทุกที และมีความมั่นคงทางพลังงานของประเทศเป็นเดิมพัน