Go to Top

บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (BLCP) จัดพิธีเปิดการฝึกซ้อมแผนรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ ภายใต้รหัสการฝึก “ NASMEX’21 ”

ข่าว และกิจกรรม

2021/11/23
-20211123201343
23 พฤศจิกายน 2564 – บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด  ร่วมกับทัพเรือภาคที่1 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมเจ้าท่า พร้อมด้วยกลุ่มบริษัทอันประกอบไปด้วย  บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีทีเเอลเอ็นจี จำกัด, บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอลจำกัด (มหาชน), บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีทีแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด, บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่งจำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด, บริษัท เอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) พร้อมกันเข้าร่วมในพิธีเปิดการฝึกซ้อมแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ และท่าเรือระหว่างประเทศ (ISPS CODE) ภายใต้รหัส NASMEX’ 21 

พลเรือโท พิชัย ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 1 เดินทางมาให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมฯ ดังกล่าว โดยมี นายยุทธนา เจริญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด และคณะผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องในการฝึกซ้อมแผนฯ เข้าร่วมในพิธีเปิด โดยการซ้อมแผนครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของกองทัพเรือ ในการปกป้องอธิปไตย และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เนื่องจากพื้นที่ในเขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จัดเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายที่สำคัญในการป้องกันประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการรักษาและป้องกัน จึงต้องมีภารกิจการฝึกซ้อมการรักษาและป้องกันความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในทิศทางเดียวกัน อันนำมาซึ่งการเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ หากเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติใดๆ ขึ้น 

พลเรือโท พิชัย ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือ ภาคที่ 1 กล่าวว่า ตนรู้สึกเป็นเกียรติและดีใจที่ได้เห็นภาคหน่วยงานราชการในจังหวัดระยองและ 12 บริษัทที่มีท่าเรือในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้ความสำคัญกับการฝึกแผนป้องกันฯภายใต้รหัส NASMEX’21 ในครั้งนี้ และให้ความร่วมมือกับทัพเรือภาคที่ 1 มาโดยตลอด โดยการฝึกแผนฯเริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 8   สำหรับการการฝึกครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2564     โดยการเตรียมการฝึกครั้งนี้ถือว่าอยู่ในสภาวะเสี่ยงเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  จึงทำให้เกิดความท้าทายและเป็นบททดสอบการฝึก ให้เป็นไปอย่างเข้มงวด เพื่อให้เกิดทักษะในการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน  และจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำงานแบบ New Normal ในโอกาสต่อไป