Go to Top
สถานีไฟฟ้าบีแอลซีพีได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 อายุสัญญา 25 ปี

สถานีไฟฟ้าบีแอลซีพีได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 อายุสัญญา 25 ปี

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีถือได้ว่ามีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศชึ่งกำลังการผลิต และการเปิดดำเนินการทั้งสองหน่วยผลิตนี้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan-PDP) ของประเทศไทย

ทั้งนี้เพื่อช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า (System Stability) และเพื่อรักษาความสมดุลของปริมาณการผลิตและปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศ (Reserve Margin)

นอกจากนี้โรงไฟฟ้าบีแอลซีพียังมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยในระดับที่จะมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยรวมของประเทศ (Cost Stability) รวมทั้งช่วยชะลอการขึ้นราคาปลีกของค่าไฟฟ้าภายในประเทศ (Price Stability) ท่ามกลางสถานการณ์น้ำมันแพงที่ผันผวนตามตลาดโลกในปัจจุบัน

ที่สำคัญโรงไฟฟ้าบีแอลซีพียังมีส่วนช่วยส่งเสริมนโยบายการกระจายการใช้เชื้อเพลิงเพื่อให้หลากหลายแก่ประเทศ  ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการกระจุกตัวของประเภทเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศในอนาคต (Fuel Diversification Policy)

นอกจากนี้ จากนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงนโยบายในการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มดิบล้นตลาด โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี เป็นอีกหนึ่งผู้ประกอบการที่สนับสนุนนโยบายภาครัฐ เพื่อร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ได้สั่งซื้อน้ำมันดีเซล B20 รวมจำนวน 1,367,000 ลิตร จำนวน 2 ครั้งเมื่อปลายปี พ.ศ.2562 และเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ จำนวนทั้งสิ้น 273,400 ลิตร เพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงในการ start up และ shutdown โรงไฟฟ้าจากที่เคยใช้น้ำมันดีเซลปกติ เพื่อให้เป็นตามที่กระทรวงพลังงานได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมนโยบายพลังงาน เพื่อประชากรทุกระดับตามนโยบาย Energy For All และให้มีการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลผสมในน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอีกด้วย

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ยังคงพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับความรับผิดชอบต่อสังคม โดยในปี พ.ศ.2563 โรงไฟฟ้าบีแอลซีพีได้ สนองต่อนโยบายรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. ในลดการใช้น้ำดิบได้ถึง 100% เพื่อให้เกษตรกรและชาวระยองมีน้ำใช้อย่างเพียงพอช่วงวิกฤตภัยแล้ง โดยทางโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีได้มีมาตรการลดการใช้น้ำ และมีนโยบายผลิตน้ำประปาและน้ำดิบจากน้ำทะเล (Reverse Osmosis Sea water Desalination Plant: RO Water) ไว้ใช้ภายในโรงไฟฟ้า แม้ว่าการดำเนินการจะมีต้นทุนค่อนข้างสูงกว่าการใช้น้ำดิบก็ตาม โดยในเดือนมกราคม 2563 ใช้น้ำดิบอยู่ที่ 20,205 ลบ.ม. กุมภาพันธ์ 2563 ลดลงเหลือ 5,054 ลบ.ม. และตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นมา โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ได้แจ้งความประสงค์หยุดรับน้ำดิบจากอีสวอเตอร์ โดยการนำน้ำทะเลมาผลิตเป็นน้ำจืด (RO Water) เพื่อใช้ทดแทนน้ำดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า รวมถึงใช้สำหรับสาธารณูปโภค และใช้รดน้ำต้นไม้ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวภายในโรงไฟฟ้าทั้งหมด จนทำให้สามารถลดปริมาณการใช้น้ำดิบจากอีสวอเตอร์ ‘เหลือศูนย์’ จนถึงปัจจุบัน