Go to Top

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มีรายละเอียดขั้นตอนในการดำเนินการโครงการอย่างไรบ้าง

ถามตอบ

2020/05/08
กฟผ. ส่งเอกสารเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537
กฟผ. ประกาศผู้ชนะการประมูลโครงการ IPP ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2539 ซึ่งบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ คือบริษัทหนึ่งซึ่งชนะการประมูล ณ เวลานั้น
หลังจากวันที่ 20 ธันวาคม 2539 กฟผ. และบีแอลซีพี ได้เจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และสามารถ ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งในสัญญา บริษัทฯ มีกำหนดจ่าย ไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 สำหรับหน่วยที่หนึ่ง และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 สำหรับหน่วยที่สอง
ต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศลดลงมาก กฟผ. จึงได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ขอเลื่อนกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. โดยบีแอลซีพี ออกไปอีก 4 ปี คือขอให้บริษัทฯ จ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของกฟผ. ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 สำหรับหน่วยที่หนึ่ง และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 สำหรับหน่วยที่สอง
บริษัทฯ ได้ตอบรับคำร้องขอของ กฟผ. โดยให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการเจรจาในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติม (PPA Amendment) เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในสัญญาเดิม และได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542
หลังจากที่บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ฉบับแรก บริษัทฯ ได้ดำเนินการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโครงการท่าเรือ ขนถ่ายถ่านหิน เพื่อให้เป็นไปตาม PPA โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและโครงการท่าเรือขนถ่ายถ่านหิน นั้นคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2544 และวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545 ตามลำดับ