Go to Top

คณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล รองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเข้าเยี่ยมขมโรงไฟฟ้าบีแอลซีพ

ข่าว และกิจกรรม

2020/12/03
คณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล-รองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC)-ภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ-คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเข้าเยี่ยมขมโรงไฟฟ้าบีแอลซีพ
1 ธ.ค. 2563 - พลเรือเอก พิเชฐ ตานะเศรษฐ คณะทำงานรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในฐานะประธานอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และนายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองประธานอนุกรรมการฯ พร้อมคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชมบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี) และอาคารผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (Sea Water Reverse  Osmosis Plant หรือ RO Plant) ณ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยมีนายยุทธนา เจริญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด และคณะทำงานให้การต้อนรับและให้นำเสนอข้อมูลการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลแก่ คณะเยี่ยมชม ซึ่งโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีสามารถผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลใช้ภายในโรงงานได้ 100% 
 
สืบเนื่องจาก คณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล รองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ภายใต้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  ได้ประกาศเชิญชวน บริษัท ห้าง ร้าน หรือหน่วยงานภาคเอกชน ที่มีประสบการณ์และเทคโนโลยีด้านการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล มานำเสนอข้อมูลการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นทางเลือกในการบริหารทรัพยากรน้ำในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก (EEC) ลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ทั้งการอุปโภคบริโภค การเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
 
โดย บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จํากัด ซึ่งเป็นผู้ดําเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งที่ถมทะเลในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบริษัทที่มีเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล เพื่อนํามาใช้ในกระบวนผลิตกระแสไฟฟ้า ปัจจุบันมีอัตรากําลังการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล RO Water 3,000 ลบ.ม./วัน และมีความสนใจที่จะจัดทําโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลให้ได้จํานวน 200,000 - 250,000 ลบ.ม./วัน เพื่อช่วยบรรเทาความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภาวะวิกฤตภัยแล้งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สร้างความมั่นคงด้านน้ำให้กับเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ได้อย่างยั่งยืน

BLCP ร่วมสร้างสรรค์สังคมน่าอยู่ เคียงคู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั้งยื่น